ข้อมูลผลิตภัณฑ์

ที่มาของสมุนไพรเฒ่าพันปี

เมื่อปี พ.ศ. 2552 เจ้าของแบรนด์ได้พาคุณปู่ไปเยี่ยมญาติที่จังหวัดเลย เมื่อเจอกันคุณปู่และคุณตาอาลีก็ได้ทักทายและสอบถามปัญหาสุขภาพตามประสาผู้สูงอายุ คุณปู่ได้บอกว่าป่วยเป็นเบาหวาน คุณตาอาลีจึงได้แนะนำสมุนไพรชื่อ “เฒ่าพันปี” ได้มาจากประเทศเพื่อนบ้าน ใช้รักษาเบาหวานได้ดีมาก ต้มน้ำร้อนดื่มเช้าเย็นช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ และได้มอบต้นพันธุ์สมุนเฒ่าพันปีให้คุณปู่นำมาปลูกไว้ที่บ้าน

หลังจากนำมาปลูกได้ 3-4 ดือน จึงได้ทดลองนำใบสมุนไพรเฒ่าพันปีมาต้มดื่มเช้าเย็น เมื่อถึงกำหนดไปพบแพทย์ ได้ตรวจวัดระดับน้ำตาล พบว่าค่าระดับน้ำตาลลดลงจาก 220 เหลือเพียง 104 ความดันก็ลดลงด้วย จึงได้แนะนำให้เพื่อนบ้านที่เป็นเบาหวานนำไปทดลองใช้ ผลปรากฎว่าช่วยทำให้ระดับน้ำตาลลดลง ได้ผลดีกันทุกคน จึงได้ขยายพื้นที่ปลูกและพัฒนามาเป็นผลิตภัณฑ์ชาสมุนไพรเพื่อสุขภาพ OLA HERB

มีงานวิจัยรองรับว่าสามารถลดน้ำตาลและไตรกลีเซอไรด์ได้

A. B. MOHD FADZELLY, R. ASMAH และ O. FAUZIAH2 (2006) ได้ศึกษาผลของชาสมุนไพรเฒ่าพันปีต่อระดับน้ำตาลและไขมันในหนูทดลอง โดยใช้หนูทดลอง 42 ตัว แบ่งเป็น 7 กลุ่ม ๆ ละ 6 ตัว มีกลุ่มควบคุม กลุ่มน้ำตาลในเลือดสูง และกลุ่มหนูปกติ ให้หนูทดลองดื่มชาสมุนไพรเฒ่าพันปี 2% เป็นเวลา 21 วัน ผลการวิจัยพบว่า ชาสมุนไพรเฒ่าพันปีสามารถลดระดับน้ำตาลและไตรกลีเซอไรด์ ในหนูทดลองได้ รายละเอียดดังตาราง ที่ 1 และ 2

จากผลการวิจัยตามตารางที่ 1 ก่อนการทดลอง (Day 0) Groups 2 (ใช้ยาลดน้ำตาล) มีค่าระดับน้ำตาล 21.40 mmol/l ส่วน Groups 4 (ใช้ชาเฒ่าพันปีแห้ง) มีค่าระดับน้ำตาล 21.18 mmol/l เมื่อเวลาผ่านไป 7 วัน Groups 2 ที่ใช้ยาลดน้ำตาล ค่าระดับน้ำตาลในเลือดลดลงเล็กน้อย ที่ 15.88 mmol/l ส่วน Groups 4 ที่ใช้ชาเฒ่าพันปีแห้ง ค่าระดับน้ำตาลในเลือดลดลงเหลือ 8.65 mmol/l และเมื่อทำการทดลองครบ 21 วัน Groups 2 มีค่าระดับน้ำตาล 12.86 mmol/l ส่วน Groups 4 ที่ใช้ชาเฒ่าพันปีแห้ง ค่าระดับน้ำตาลในเลือดลดลงเหลือเพียง 7.70 mmol/l

จากผลการวิจัยสรุปได้ว่า ชาสมุนไพรเฒ่าพันปีสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้จริง

จากผลการวิจัยตามตารางที่ 2 กลุ่มที่มีค่าระดับไตรกลีเซอไรด์ใกล้เคียงกันในวันแรกของการทดลองคือ Groups 2 (ใช้ยาลดน้ำตาล) มีค่าระดับไตรกลีเซอไรด์ 0.78 mmol/l และ Groups 4 (ใช้ชาสมุนไพรเฒ่าพันปีแห้ง) มีค่าระดับไตรกลีเซอไรด์ 0.84 mmol/l เมื่อเวลาผ่านไป 7 วัน Groups 2 ที่ใช้ยาลดน้ำตาล ค่าระดับไตรกลีเซอไรด์ลดลงเล็กน้อย ที่ 0.52 mmol/l ส่วน Groups 4 ที่ใช้ชาสมุนไพรเฒ่าพันปี ค่าระดับไตรกลีเซอไรด์ลดลงอย่างมาก เหลือเพียง 0.08 mmol/l

จากผลการวิจัยสรุปได้ว่า ชาสมุนไพรเฒ่าพันปีสามารถลดระดับไตรกลีเซอไรด์ได้จริง

มีงานวิจัยรองรับว่าปลอดภัย ไม่เป็นพิษต่อตับและไต

Norfarizan-Hanoon และคณะ (2012) ได้ศึกษาความเป็นพิษของสมุนไพรเฒ่าพันปี โดยแบ่งหนูทดลองทั้งเพศผู้และเพศเมียออกเป็น 10 กลุ่ม ๆ ละ 5 ตัว ให้หนูกินสมุนไพรเฒ่าพันปี ที่แตกต่างกันสี่ขนาด คือ 700, 2100, 3500 และ 4900 mg/kg ของน้ำหนักตัว เป็นเวลา 14 วัน พบว่า ไม่มีความเป็นพิษที่มีนัยสำคัญ ในแง่ของพารามิเตอร์ทางคลินิกและสัณฐานวิทยาของอวัยวะ ไม่พบความผิดปกติของตับและไต มีความปลอดภัยถึงแม้จะใช้ในปริมาณมากถึง 4900 mg/kg ของน้ำหนักตัว รายละเอียดดังตาราง ที่ 3 และ 4

AST (Aspartate transaminase) หรือ Aspartate aminotransferase (แต่เดิมการแพทย์จะใช้คำว่า “SGOT” หรือ Serum glutamic oxaloacetic transaminase ซึ่งก็มีความหมายและเป็นค่าชนิดเดียวกัน) คือ เอนไซม์ที่อาจตรวจพบได้ในกระแสเลือด ซึ่งสร้างขึ้นมาจากความเสียหายของตับ เม็ดเลือดแดง หัวใจ กล้ามเนื้อ ตับอ่อน หรือไต ซึ่งค่า AST นี้มิใช่ค่าเอนไซม์เฉพาะตับเท่านั้น แต่เป็นค่าที่สะท้อนจากทุกเนื้อเยื่อของทุกอวัยวะที่เสียหาย เพียงแต่ตับเป็นอวัยวะที่ไวต่อโรคหรือจากสภาวะแวดล้อมที่มากระทบ เช่น จากสารพิษ จึงมักเป็นสาเหตุแรก ๆ ที่ทำให้ AST ซึ่งเกิดขึ้นจากตับมีค่าสูงขึ้นบ่อยครั้งนั่นแปลว่า ALT ที่สูงขึ้นผิดปกติมักมีสาเหตุมาจากตับมากกว่าอวัยวะอื่น
ที่มา https://medthai.com/การตรวจ-ast-sgot

ค่า ALT นับเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญอย่างยิ่งตัวหนึ่งในการวิเคราะห์ผลข้างเคียง หรือพิษต่อตับจากยารักษาโรคบางชนิด เช่น ยาลดคอเลสเตอรอล จึงสรุปได้ว่า หากตับได้รับพิษจากยา แอลกอฮอล์ อาหาร หรือจากการถูกโจมตีด้วยเชื้อไวรัส ก็ย่อมมีผลทำให้ค่า ALT สูงขึ้นได้เสมอ ค่า ALT เป็นตัวบ่งชี้ที่ไวต่อความเปลี่ยนค่าเป็นที่สุด ในผลจากความเสียหายใด ๆ ของเซลล์ตับ
ที่มา https://medthai.com/การตรวจ-alt-sgpt